การแรเงา เป็นใช้ดินสอ หรือด้วยอุปกรณ์อื่นๆ นำมาใช้ในการสร้างน้ำหนัก มีเข้ม-มีอ่อน มีหนัก-มีเบา มีวิธีการ ขีด , เขียน , เกลี่ย , ปาด , ทับ , ไขว้ จุดประสงค์ในการสร้างรอยเหล่านี้ คือการสร้างน้ำหนักเพื่อสร้างความใกล้เคียงกับธรรมชาติ หรือสร้างความเหมือนหุ่นที่ใช้ในการดูแบบ
การแรเงาภาพนั้น จะทำให้ภาพเกิดความลึก เกิดระยะใกล้- ไกล เกิดมิติ สามารถเปลี่ยนรูป 2 มิติให้กลายเป็น 3 มิติได้ ทำให้รูปกว้าง-ยาวเปลี่ยนเป็นรูปที่มีความตื้น – ลึก , หนา – บางได้ แน่นอนว่าความตื้นลึกหนาบางที่เราเห็นนี้ เป็นเพียงแค่ความรู้สึกอันสัมผัสได้จากสายตาเท่านั้น จัดเป็นวิธีสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างหนึ่งนั่นเอง
เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก
1.ให้หรี่ตาดูหุ่น
เมื่อเราวาดโครงอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กำหนดพื้นที่ โดยการแบ่งส่วนระหว่างแสงและเงาออกจากกัน ด้วยความชัดเจน โดยการร่างเส้นเบาๆบนรูปทรงของภาพร่าง โดยแบ่งเพียง 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงและเงาเท่านั้น
2.แรเงาน้ำหนัก
ทำการแรงเงาน้ำหนักในบริเวณเป็นเงาทั้งหมด และใช้น้ำหนักเบาที่สุดตรงบริเวณเงาซึ่งตกทอดบนวัตถุ รวมทั้งเว้นพื้นที่ส่วนเป็นแสงไว้
3.ทำการเปรียบเทียบน้ำหนัก
ให้ดูว่า ต้องแรเงาเพิ่มน้ำหนักตรงส่วนไหนให้มากขึ้น และอย่าลืมเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาลงใหม่กับเงาอ่อนและช่องแสง อยู่เสมอๆ จากนั้นเกลี่ยน้ำหนักให้กลมกลืนกัน ดูนวล ทั้งภาพ
Tip!! การแรเงาน้ำหนักให้ลงแบบรวมไล่ไปทีละน้ำหนัก เพราะทำให้ควบคุมง่าย ไม่ด่าง ไม่เพี้ยน
4.อย่าลืมใส่ใจในส่วนของแสงที่เว้นไว้ด้วยนะ
เมื่อพิจารณาโดยรวมดูแล้วคุณจะพบว่ามีน้ำหนักอ่อน-แก่แบบเดียวกับเงา คือต้องใช้ดินสอลงน้ำหนักอย่างแผ่วเบาที่สุด ตรงบริเวณของแสงซึ่งเว้นไว้ ทั้งนี้เป็นการใส่ใจในทุกมุม เพื่อเผยทุกรายละเอียดออกมามีน้ำหนักสมบูรณ์นั่นเอง
5.เงาตกทอด
ใช้วิธีการเดียวกับการแรเงาด้านบนดังกล่าวมาแล้ว แต่คุณต้องสังเกตทิศทาง ในการวาดเขียนปกติตามทั่วไปจะใช้ประมาณ 45 องศากับพื้น
Tip !! ถ้าคุณลองสังเกตดูจะพบว่าแสงซึ่งมาจากมุมสูง จะเห็นเป็นเงาตกทอดขนาดสั้น แต่ถ้าแสงลงมาจากมุมต่ำลง เงาตกก็ทอดจะยาวขึ้น แน่นอนว่าในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดก็มีน้ำหนักอ่อน-แก่ แบบเดียวกับแสงเงาบนวัตถุ แปลว่าเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีสีเข้มกว่าเงาที่ไกลออกไป โดยตัววัตถุเองก็มาจากแสงสะท้อนรอบๆ ของตัววัตถุซึ่งสะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลงนั่นเอง